วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2551

นก

นกในโลก มีอยู่ประมาณ 8,600 ชนิด อาศัยอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งเฉพาะในประเทศไทยมี 830 ชนิด บางชนิดเราไม่เคย พบเห็นเลย เพราะเป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่า หรือบนภูเขาสูง และบางชนิดเป็นนกประจำถิ่น มีเฉพาะในบางบริเวณ เช่น นก ที่มีถิ่นอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ในเขตกรุงเทพมหานครมีนกอยู่ประมาณ 200 ชนิด โดยทั่วไป นกมีอายุยืนประมาณ 5 ถึงกว่า 50 ปี นกที่อายุยืนที่สุด ได้แก่ นกราเวน (raven) อายุยืน กว่า 69 ปี นกแก้วมาคอว์ (macaw) อายุยืนน้อยกว่านั้นเล็กน้อยคือประมาณ 64 ปี นกได้ชื่อว่า เป็นนักเดินทางที่สามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกลที่สุดในกระบวนสัตว์ นกที่เดินทางเก่ง ที่สุด ได้แก่ นกนางนวลแกลบแห่งขั้วโลกเหนือ เมื่อถึงฤดูหนาวอากาศหนาวจัด นกนางนวลแกลบจะพากันบินจากขั้วโลกเหนือ อพยพไปอยู่ที่ขั้วโลกใต้ พอหมดฤดูหนาวก็อพยพกลับถิ่นที่อยู่เดิม ปรากฏว่าในรอบหนึ่งปี นกชนิดนี้ต้องบินอพยพเป็น ระยะทางไกลถึง 22,000 ไม นกมีหลายชนิด นกบางชนิดมีตัวเล็กจนแทบจะกำไว้ในมือได้ แต่บางชนิดก็มีขนาดใหญ่กว่านั้น หลายสิบเท่า นกที่เล็กที่สุด ได้แก่ นกฮัมมิง (bee hummingbird) ซึ่งเป็นนกพื้นเมืองของคิวบา มีลำตัวยาวประมาณสองนิ้ว หนัก เพียงเศษหนึ่งส่วนสิบออนซ์ ส่วนนกกระจอกเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนกที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจสูงได้ถึงแปดฟุต และหนัก ถึง 300 ปอนด์ นกส่วนมากมีรูปร่างเพรียว หัวแหลมท้ายแหลม มีปีกสองปีก บินได้ในอากาศ ปีกของนกแต่ละชนิดมี ความยาวแตกต่างกันไป นกที่มีปีกยาวที่สุด ได้แก่ นกอัลบาทรอส (albatross) ซึ่งเป็นนกทะเลชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ใน มหาสมุทรใน ซีกโลกภาคใต้ เมื่อเหยียดปีกออกเต็มที่วัดจากปลายปีกด้านหนึ่งถึงปลายปีกอีกด้านหนึ่งอาจยาวได้ถึงสิบสองฟุต นกอัลบาทรอสอาจกางปีกบินร่อนอยู่ในอากาศได้นาหลายชั่วโมง แต่ไม่ใช่นกที่บินเร็วที่สุด ที่มา http://kanchanapisek.or.th

แมลง

แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในคลาส Insecta เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดและมีการแพร่กระจายกว้างขวางที่สุดในไฟลัม Arthropoda และเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด โดยมีมากกว่า ๘๐๐,๐๐๐ สปีชี่ส์ ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆรวมกัน ประมาณไว้ว่า มีแมลงปอ ๕,๐๐๐ ชนิด ตั๊กแตนตำข้าว ๒,๐๐๐ ชนิด ผีเสื้อ ๑๗๐,๐๐๐ ชนิด แมลงวัน ๑๒๐,๐๐๐ ชนิด ผึ้งและมด ๑๑๐,๐๐๐ ชนิด ตัวขนาดเล็ก เมื่อเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ร่างกายแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีขา ๖ ขา มีหนวด ๑ คู่ มีปีก ๑ หรือ ๒ คู่ หรืออาจไม่มีก็ได้ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ แมลงปอ บางทีเรียกเพี้ยนเป็นแมง แมลงหลายชนิดมีอวัยวะรับรู้สัมผัสที่ดีมาก บางครั้งอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ผึ้งสามารถเห็นแสงสีในสเปกตรัมของรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต และผีเสื้อกลางคืนตัวผู้มีระบบประสาทรับกลิ่นที่สามารถรับกลิ่นของฟีโรโมนจากตัวเมียได้เป็นระยะทางหลายกิโลเมตรแมลงสังคมอย่างมดและผึ้ง เป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดของสัตว์สังคม พวกมันอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ โดยแบ่งหน้าที่การงานกันอย่างเป็นระบบและเรียบร้อย บางครั้งอาณาจักรเช่นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น superorganism (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) แมลงถือกำเนิดขึ้นบนโลกเมื่อ ๕๐๐ ล้านปีก่อน และด้วยจำนวนชนิดมากถึงสามในสี่ของสัตว์มีชีวิตบนโลก กอปรกับการวิวัฒนาการและพัฒนาการมาอย่างยาวนาน จึงมีผู้กล่าวกันว่า แมลงจะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนของมนุษย์เมื่อประชากรมนุษย์บนโลกมนุษย์เพิ่มมากขึ้นในอนาคต และหากเกิดสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกแล้ว ในอนาคตสัตว์ที่อาจจะมีชีวิตรอดเหลืออยู่ได้ชนิดหนึ่งก็คือแมลงนั่นเอง แมลงส่วนใหญ่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ มีเพียงส่วนน้อยที่มีเป็นอันตรายหรือมีโทษ แมลงที่มีประโยชน์อาจจำแนกได้ ๕ กลุ่ม คือ แมลงที่ให้ผลผลิต แมลงที่ ใช้เป็นอาหาร แมลงผสมเกสร แมลงที่ช่วยสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน แมลงตัวห้ำและ แมลงตัวเบียน โลกของแมลงเป็นโลกที่อยู่ในส่วนที่ยังลึกลับมากๆ เปรียบดัง "ผู้กำความลับแห่งพงไพร" การเดินสำรวจในแต่ละครั้งพบแมลงหลายชนิด บางชนิดมีลักษณะที่แปลกมากๆ บางชนิดเคยเห็นเป็นครั้งแรก และส่วนใหญ่ไม่รู้จัก คือไม่มีความสามารถในการจำแนกชนิด ดังนั้นในห้องสมุดภาพแมลง คำบรรยายใต้ภาพส่วนใหญ่จึงมีแต่คำว่า รอการตรวจสอบชนิด แต่ถึงแม้นว่าจะจำแนกไม่ได้ก็ยังอยากจะตีพิมพ์รูปเอาไว้ เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์ในวันข้างหน้าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ที่มา http://www.thungyai.org

แมลงปอ

แมลงปอชนิดแรกและเป็นชนิดเดียวจากไทยที่ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1877 คือเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีมานี่เอง เป็นแมลงปอเข็มชนิดหนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Stenobasis oscillansแต่ชื่อของแมลงปอชนิดนี้ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น Arcbibasis oscillans (Selys) ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของแมลงปอที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบได้ในประเทศไทย แต่ได้รับการตั้งชื่อมาก่อนจากประเทศอื่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1770 คือนานกว่าสองร้อยปีมาแล้ว ได้แก่ Libellula servilia และ Libellula sabina แมลงปอทั้ง 2 ชนิดนี้ปัจจุบันได้แก้ไขชื่อเป็นแมลงปอบ้านบ่อ Crocothemis servilia servilia- (Drury) และแมลงปอบ้านเสือลาย Orthetrum sabina sabina (Drury) จัดเป็นแมลงปอบ้านที่หาง่ายมากและมีทั่วไปแทบทุกหนทุกแห่งอย่างกว้างขวางในหลายส่วนของโลก ในปี ค.ศ. 1904 มาร์ติน(Martin) ชาวฝรั่งเศส ได้รายงานแมลงปอที่จับจากเขตอินโดจีน โดยมีหลายสิบชนิดถูกระบุว่าพบจากไทยและมีแมลงปอเสือ 1 ชนิดคือ Heterogomphus-unicolor เป็นแมลงปอชนิดใหม่ที่พบและอาจเป็นตัวที่ 2 ที่ได้รับการตั้งชื่อจากไทย แมลงปอทั้งหมดนี้ได้จากคณะสำรวจมิชชั่นพาวี (Mission Pavie) ระหว่างปี ค.ศ. 1879-1895 ต่อมาเซอร์วิลเลียมสัน(Sir W. Williamson) ชาวอังกฤษได้รวบรวมแมลงปอจากไทยที่จับในปี ค.ศ.1923-1924 ส่งไปให้เฟรเซอร์ (Fraser) เขียนเป็นรายงานออกมาในปี ค.ศ.1927 ซึ่งเป็นแมลงปอที่ มากถึง 2,890 ตัว ในปีเดียวกันนั้นเอง เลดลอว์ (Laidlaw) ได้พบแมลงปอบ้านชนิดใหม่จากไทยและตั้งชื่อไว้ว่า Urothemis abbotti เลดลอว์ได้สำรวจแมลงปอ ในเขตภาคใต้ของไทย ได้เขียนเป็นรายงานออกมาในปี ค.ศ1931 อีก 1 ปี ถัดมา เฟรเซอร์ได้รายงานแมลงปอที่ ดร.เคอร์ (Dr. kerr) จับได้จากอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีแมลงปอชนิดใหม่ถึง 3 ชนิดต่อมาในปี ค.ศ. 1933,1934 และ1936 เฟรเซอร์ได้พิมพ์ตารางเกี่ยวกับแมลงปอจากเขตอินเดีย(รวมถึงอินโดจีนและไทยด้วย) มี ที่มา http://www.thaigoodview.com

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2551

ผีเสื้อ

ผีเสื้อ คือ สัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสรรสวยงามเเต่มีอายุไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะมีผีเสื้ออยู่มากดังนั้นผีเสื้อก็ เป็นเครื่องบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ดังนั้นเราควรรักษาผีเสื้อ ให้อยู่คู่กับป่าตลอดไป ลักษณะของผีเสื้อ ผีเสื้อก็เหมือนกับเเมลงทั่วไป คือเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขาเป็นปล้องจำนวน 6 ขา มีกระดูกสันหลังอยู่นอกลำตัวห่อ หุ้มอวัยวะต่างๆไว้ ร่างกายประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ หัว อกเเละท้อง ซึ่งเเต่ละส่วนเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญ ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกนี้ สัตว์จำพวกแมลงมีจำนวนชนิดมากถึง 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหมด ผีเสื้อชนิดต่างๆ 1. วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Family Papilionidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้ส่วนมากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายปีกคู่หลังจะมีส่วนยื่นยาวออกมา คล้ายหางหรือติ่ง แต่บางชนิดก็ไม่มี ปกติเพศผู้ชอบลงกินอาหาร และน้ำ ตามพื้นดิน หรือทรายที่ชื้นแฉะซึ่งมีมูลสัตว์หรือ ปัสสาวะปะปน ส่วนเพศเมียมักหากิน ตามยอดไม้ใน ระดับสูง ผีเสื้อวงศ์นี้พบชุกชมมากในประเทศเขตร้อน 2. วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ (Family Pieridae) ผีเสื้อในวงศ์นี้ ถ้าแบ่งตามสีจะมี 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่มีปีกสีเหลือง และสีขาว มักพบลงกินอาหารตามพื้นดินทราย พร้อม ๆ กันเป็นกลุ่มใหญ่ พบมากใน ประเทศเขตร้อน ในการสำรวจครั้งนี้พบจำนวน 12 ชนิด 3. วงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก (Family Danaidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้เป็นชนิดที่มีพิษในตัว โดยได้รับพิษจากพืชอาหารที่ตัวหนอนกินเข้าไป บางครั้งอาจเรียกผีเสื้อวงศ์นี้ว่า ผีเสื้อลายเสือ ตามลักษณะสีสันของตัวหนอน และผีเสื้อบางชนิดที่มี ลายคล้ายลายเสือ ตัวหนอนกินพืชจำพวก ที่มียางสีขาว หรือยางใสเหนียวเป็นอาหาร เช่น มะเดื่อ รัก เพศผู้ มีแถบสีเข้มกลางปีกคู่หลัง เพศเมีย จะ ไม่มีแถบสีที่กลาง ปีกคู่หลัง จึงสามารถใช้แถบเป็นที่ สังเกตบอกเพศได้ 4. วงศ์ผีเสื้อสีตาล (Family Satyridae) ผีเสื้อในวงศ์นี้ส่วนมากมีสีน้ำตาลเข้ม และมีจุดคล้ายดวงตาบนแผ่นปีก มักพบหากินในที่ร่ม เงาไม้ พบชุกชุมในเขตอบอุ่น ทั่วโลก เชื่อว่ามีแหล่ง กำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา 5. วงศ์ผีเสื้อป่า( Family Amathusiidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและหากินตามบริเวณที่เป็นร่มทึบ พบได้ในทวีปเอเชีย จนถึงออสเตเรีย 6. วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Family Nymphalidae) ผีเสื้อวงศ์นี้พบมากที่สุดในประเทศไทย โดยจะมีขาคู่หน้าที่หดสั้นลงจนดูคล้ายกระจุกพู่ขน ไม่สามารถใช้เกาะ หรือเดินได้ ทำให้มองเห็นเพียง 4 ขาเท่านั้น ตัวหนอนของผีเสื้อวงศ์นี้มีขนแหลมๆ อยู่ทั่วตัว ผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบออก หากินในที่โล่ง มีแสงแดดจัด 7. วงศ์ผีเสื้อหัวแหลม (Family Libytheidae) ผีเสื้อวงศ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ส่วนหัวมี ระยางค์ปาก (labial palps) ยื่นแหลมออกมาคล้าย มีหัวแหลม ปลายปีก คู่หน้าโค้งออก ตัดเป็นรูปมุมฉาก บางครั้งก็เรียกว่า ผีเสื้อจมูกแหลม ในประเทศไทย พบเพียง 4 ชนิด เท่านั้น 8. วงศ์ผีเสื้อปีกกึ่งหุบ (Family Riodinidae) ผีเสื้อวงศ์นี้จะมีขาคู่หน้าของเพศผู้ ที่มีลักษณะ คล้ายกับผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ คือ ส่วนปลายขาเสื่อมหายไป เหลือเพียงโคนขา และเพศเมียมีขาครบ ส่วนมากผีเสื้อปีกกึ่งหุบ เวลาที่เกาะกับ พื้นดินมักจะ กางปีก ออกเป็นรูปตัว V 9. วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Family Lycaenidae) ผีเสื้อวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก บางชนิด มีขนาดปีกกว้างไม่ถึง 15 มิลลิเมตร ปีกด้านบน มีสีฟ้าหรือน้ำเงินอมม่วง ในระยะตัวหนอนจะกิน พืชตระกูลถั่วเป็นอาหาร ในการสำรวจครั้งนี้พบ จำนวน 12 ชนิด 10. วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Family Hesperiidae) ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายกับผีเสื้อกลางคืน คือ มีปีกสั้น ลำตัวค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบ กับขนาดปีก ส่วนใหญ่ปีกมี สีน้ำตาลเข้ม แต่เนื่องจาก ผีเสื้อในวงศ์นี้ มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างผีเสื้อ กลางวันและผีเสื้อกลางคืน นักอนุกรมวิธาน บางท่าน จึงจัดผีเสื้อบินเร็วอยู่ในกลุ่มต่างหาก ที่มา http//www.yenta4.com

แฮมสเตอร์

นักสัตว์วิทยา จากประเทศ อิสราเอล ได้บังเอิญพบแม่แฮมสเตอร์ และลูกน้อยภายในโพรงลึกประมาณ ๘ ฟุต และได้นำแม่แฮมสเตอร์ และลูกๆ กลับมาที่ห้องทดลองในกรุงเยรูซาเลม อีกเพียง ๔ เดือนต่อมา ลูกแฮมสเตอร์ตัวใหม่ก็ได้กำเนิดขึ้น และนับได้ว่าเป็นแฮมสเตอร์ตัวแรกที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงในห้องทดลองแฮมสเตอร์ถูกขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อใช้ในการทดลอง และได้รับความสนใจอย่างกว้างในวงการวิทยาศาสตร์โลก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ปลอดจากเชื้อโรค และขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก มันจึงถูกนิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองเพื่อศึกษาวิจัยทางการแพทย์ จากเยรูซาเลม แฮมสเตอร์ถูกนำไปยังห้องทดลองใน ฝรังเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา จนทุกวันนี้แฮมสเตอร์พันธุ์ ซีเรี่ยน หรือ golden hamster ที่เลี้ยงกันอยู่ก็สืบเชื้อสายมาจาก ครอบครัวน้อยๆที่ถูกพบในทะเลทรายซีเรีย ที่ได้ชื่อว่าพันธุ์ syrian ก็หมายถึงชาวซีเรียนั่นเอง สายพันธุ์ต่างๆของแฮมสเตอร์ ในที่นี้จะพูดถึงแฮมสเตอร์แคระ ซึ่งมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ใหญ่ๆ คือ 1.วินเทอร์ไวท์ ชื่อเต็มๆว่า The Dwarf Winter White RussianHamster ดั้งเดิมนั้น winter white มาจากทางตะวันออกของสาธารณรัฐคาซัคสถาน และทางตะวันตกเฉียงใต้ของไซบีเรีซเป็นพื้นที่ๆปกคลุมไปด้วยหญ้า Winter White เมื่อโตเต็มที่มีขนาด ๘-๑๐ เซ็นติเมตร เมื่อประมาณ ค.ศ. ๑๙๖๐ winter white ถูกใช้เป็นหนูทดลองในห้องทดลองที่เยอรมนี ว่ากันว่า..Winter White นั้น มีความพิเศษในตัวอยู่อย่างหนึ่ง คือเมื่อถึงฤดูหนาวขนจะเปลี่ยนเป็นสีอ่อนจนกระทั่งเป็นสีขาว 2.แคมเบลล์campbell ชื่อเต็มว่า The Dwarf Campbells Russian Hamsterเป็น campbell สีแพนด้า เรียกกันสั้นๆว่า พันธุ์ แคมเบลล์ แคมเบลล์ถูกพบครั้งแรกโดยนายโทรมัส แคมเบลล์ (Thomas cambell) และได้นำมาเลี้ยงไว้ที่ สถาบัน Gamalyea ในมอสโคว์ ต่อมาประมาณปีค.ศ. ๑๙๖๓-๖๔ ก็ถูกนำเข้าไปในประเทศอังกฤษ สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนและ campbells ก็เคยถูกใช้เป็นสัตว์ในห้องทดลองเช่น ก็ได้รับความนิยมในตลาดสัตว์เลี้ยงในเวลาต่อมา 3.โรโบรอฟสกี้ ชื่อเต็ม (Robo : Roborovski) ไม่ชอบให้จับแต่ชอบถ่ายรูป Roborovski หรือที่พวกเราชอบเรียกกันสั้นๆว่า โรโบ เมื่อโตเต็มที่ มีความยาวเฉลี่ยเพียง 4-5 เซนติเมตร ที่ได้ชื่อเท่ๆ ว่า โรโบ ก็เพราะว่าถูกพบโดยนาย Lt Roborovsky ตั้งแต่หลายปีก่อนโน้นโรโบ เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มันอยู่ในโพรงที่ขุดลึกลงไประหว่าง 50 ถึง 150 ซม. และปากหลุมปกคลุมไปด้วยดินทรายอ่อนๆโรโบ จัดว่าเป็นแฮมฯที่ปราดเปรียว ว่องไว เป็นเลิศ ทำให้อุ้มหรือจับเล่นยาก เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ดูเล่นแต่ก็มีเสน่ห์ตรงที่ น่ารัก และซุกซน มาก ที่มา http://www.hamstergang.com

กระต่าย

กระต่ายพันธุ์ต่างๆที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาเองโดยคนไทยริ่มแรกมีการนำเข้ากระต่าขนยาวจากต่างประเทศอย่าง English Angora ถูกนำเข้ามาโดยฟาร์มในไทย แล้วนำมาผสมกับกระต่ายไทย เพื่อลดต้นทุน และ พัฒนาให้เกิดกระต่าย พันธุ์ขนยาว และพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ออกมาเป็นกระต่ายที่เราเห็นๆกันอยู่นี้ในระยะแรก มีกระต่ายพันธุ์เจอรี วู๊ดดี้ออกมาก่อน แต่ยังไม่ค่อยจะสวย เพราะที่ตัว ขนยาวแต่ที่หน้าขนจะไม่ค่อย ยาวจึงมีกระต่ายหน้าตาแปลกๆ ออกมาขายเยอะ หลายๆคนคงจะเคยเห็นกระต่ายที่ บางคนเรียกว่า เสื้อกั๊ก คือ กระต่ายที่ขนตรง หลังสั้น มีขนรอบๆ ยาวเป็นชายกระโปรง คือยาวไม่เสมอกันทั้งตัว คล้ายกับ กระดองเต่า หรือที่มาตั้งชื่อกันเอง เพื่อให้ขายง่ายว่า "กระต่ายเปอร์เซีย" เกิดจากการผสมที่มีเชื้อกระต่ายไทยมากเกินไปและเหตุที่คนไทย ชอบกระต่าย ขนยาวๆ แต่ตัวเล็กๆ กระต่ายที่พัฒนาขึ้น รุ่นหลังๆ Teddy Bear ที่มีขนาดเล็กลงและWoody Toyซึ่งเล็กที่สุดในบรรดากระต่ายที่พัฒนาสายพันธุ์ ขึ้นในไทย ตามลำดับ กระต่ายเหล่านี้ ที่พัฒนาสายพันธุ์กันขึ้นมา ไม่ว่าจะ Jerry Woody หรือ Teddy Bear หรือ Woody Toyล้วนแต่ พัฒนาขึ้นในไทย แต่ไม่ได้ รับมาตรฐานจาก ARBA ที่มา http://student.nu.ac.th

แมว

แมว มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Felis Catus นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า Miacis และได้วิวัฒนาการขั้นมาจนเริ่มมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า Dinistis ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆนั้น แยกออกมาจากตระกูลของ เสือไซบีเรียน และแมวพื้นเมืองต่างๆ ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด (รวมทั้งสิงโตและเสือต่างๆด้วย) ต่อมาถึงยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่อง เพื่อใช้จับหนูในโรงนาและเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ก้อทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนก็มีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนูอีกด้วยชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์เทพเจ้า ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า "Bastet" (เทวีบัสเตต) ซึ่งมีตัวเป็นคน แต่มีหัวเป็นแมว เป็นเทพเจ้าแห่งความรัก และความอุดมสมบูรณ์ นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าอีกด้วย ตรงจุดนี้ เลยเกิดความเชื่อว่า เมื่อเรือเทียบท่า แมวก็ลงจากเรือ แต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือจึงทำให้แมวขนาดพันธุ์ไปทั่วโลก ชาวอียิปต์โบราณนั้นนับถือแมวถึงขนาดแมวในบ้านตาย ยังต้องนำไปทำมัมมี่เลย (มัมมี่คนจะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ ในเมื่อแมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ หากใครฆ่าแมว จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้วิธีชั่วร้าย "อุ้มแมวไปรบ" แล้วพวกทหารอียิปต์จะสู้ได้อย่างไร (เป็นส่วนหนึ่งของการรบอียิปต์ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) แต่ถึงอียิปต์โบราณจะล่มสลายไปแล้ว ชาวอียิปต์ในสมัยก่อนยังนับถือบูชาแมวเหมือนเดิม ขนาดชาวโรมันบางคน (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์) ฆ่าแมวยังถูกพวกอียิปต์ลงโทษเลย ต่อมาเข้าสู่ยุคกลางในยุโรป มีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประณามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่เลี้ยงแมวยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น ที่มา http://www.thaigoodview.com

สุนัข

สุนัข มีต้นกำเนิดมาจากสุนัขป่า โดยมนุษย์แถบขั้วโลกเหนือ นำมาเลี้ยงเมื่อ 12,000 ปีมาแล้วเชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรก เกิดขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว สมัยแรกเริ่ม ก็ไม่ได้มีหน้าตา เหมือนสุนัขในปัจจุบันนี้ ก็คงเหมือนคนนั่นแหละ ที่กว่าจะพัฒนามาจนมีหน้าตาเหมือนปัจจุบัน ก็ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง กว่าที่เราจะได้รู้จักสุนัขที่หน้าตาเหมือนสุนัขในปัจจุบันนี้ จากรูปภาพโบราณอายุประมาณ 12,000 - 14,000 ปี ในยุโรป นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ต้นกำเนิดของสุนัข น่าจะมาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขจิ้งจอก และก็ สุนัขป่า เพราะความเฉลียวฉลาด ความสามารถรอบตัว และ การเป็นสัตว์สังคมของมันนี่เอง ที่ทำให้มนุษย์นำมันมาเลี้ยงจนแพร่หลายไปทั่วโลก ประเภทของสุนัข แบ่งได้ 6 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 1. สุนัขล่าเนื้อ (Hounds) มีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก ผนวกกับความแข็งแรงของสรีระ ทำให้ Hounds เป็นสุนัขรุ่นแรกๆ ที่ถูกมนุษย์นำมาใช้ล่าสัตว์ สุนัขล่าเนื้อ 2. สุนัขเพื่อเกมส์กีฬา (Sporting Dogs) เป็นสุนัขพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์โดยเฉพาะ หน้าที่ของมันคือ การค้นหาเหยื่อ และก็นำเหยื่อที่ถูกยิงแล้ว กลับมาให้เจ้าของ 3. สุนัขเทอร์เรีย (Terriers) ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ มันเป็นสุนัขขนาดเล็ก ที่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น ชอบดมกลิ่น ตามรอย และ ขุดคุ้ยหาสิ่งที่มันสงสัย มันจึงถูกใช้เป็นผู้ ช่วยในการล่าสัตว์โดยเทอร์เรียจะทำหน้าที่ตามรอยสัตว์ป่า เช่น กระต่าย หนู แบดเจอร์ หมาป่า เป็นต้น 4. สุนัขทำงาน (Working dogs) หลังจากที่นำสุนัขป่ามาเลี้ยง เพื่อช่วยล่าสัตว์ มนุษย์ก็พบว่า สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความสามารถ เกินกว่าที่คาด มันฉลาด แข็งแกร่ง ว่องไว อด ทน สายตาดีและ ตามกลิ่นได้อย่างดีเยี่ยม สุนัขจึงถูกคัดเลือกพันธุ์ เพื่อใช้งาน นอกเหนือจากการล่าสัตว์ จนได้สายพันธุ์สุนัขทำงาน ที่มีลักษณะเด่น แตกต่างกันไปมากมาย 5. สุนัขตุ๊กตา (Toy) เป็นสุนัขตัวเล็กๆ ซึ่งเดิมเค้าก็เป็นสุนัข ตัวใหญ่นี่แหละ แต่ถูกพัฒนาพันธุ์จนได้สุนัขตัวจิ๋ว ที่น่ารักน่าเอ็นดู สุนัขประเภทนี้เหมาะสำหรับ เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงามันมีบทบาทมากกับคนที่อยู่คนเดียว เช่น คนชราที่ถูกทอดทิ้ง คนป่วย รวมไปถึงเด็กๆ ด้วย 6. สุนัข อเนกประสงค์ (Non Sporting) เป็นสุนัขนานาประโยชน์ตามแต่เจ้าของจะใช้งาน บางท่านก็ว่า มันก็คือสุนัขที่ ไม่สามารถจัดเข้าในพวกใดพวกหนึ่ง ioooi ที่มา http://www.student.chula.ac.th

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2551

เสือโคร่งพันธุ์เบงกอล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris tigris การแพร่กระจาย อินเดีย,เนปาล, บังคลาเทศ, พม่า เมื่อ 60 ปีก่อนมีมากถึง 40,000 ตัว แต่ข้อมูลการสำรวจ ของ IUCN เมื่อเดือนมีนาคม 2537 พบว่ามีประชากรเสือโคร่งเบงกอลลดลงเหลือประมาณ 3,350-4,700 ตัว ลักษณะทั่วไป เป็นเสือโคร่งพันธุ์ใหญ่ ลำตัวมีสีเหลืองปนเทา หรือเหลืองปนน้ำตาล แต่ละตัวมีลายแถบปรากฏบนหลัง และด้านข้างลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอเป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาว และมีแถบสีดำ หางมีแถบสีดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ปลายหางมีสีดำ หลังหูดำ และมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด นิเวศน์วิทยาและพฤติกรรม ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำ หรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน มักอาศัยในป่าลึกอากาศเย็น ว่ายน้ำ และขึ้นต้นไม้ได้แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้จะชอบว่ายน้ำมากกว่า ในวันที่อากาศร้อนๆ จะแช่อยู่ในน้ำได้หลายชั่วโมง เสือโคร่งชอบออกล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเย็น เรื่อยไป แต่ตอนกลางวันชอบนอนพักผ่อน การสืบพันธุ์ ปกติไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัดนานประมาณ 3-6 วัน ผสมพันธุ์ ได้เมื่ออายุประมาณ 30-36 เดือน (2 ปีครึ่ง - 3 ปี) ขึ้นไป ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ปกติตั้งท้องนานประมาณ 95-105 วัน ตกลูกครั้งละ 2-5 ตัว จากนั้นแม่เสือจะเลี้ยง ลูกเสือจนโตเป็นหนุ่มสาว จนอายุประมาณ 2 ปี ก็จะแยกย้ายกันไป อาหาร เสือโคร่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กินสัตว์ทุกชนิดที่จับได้ แต่หมูป่ากับกวางเป็นสัตว์ที่ชอบกินมาก อายุขัย ประมาณ 15-20 ปี ที่มา.......http://www.tigerzoo.com/Tigerthai/edu.html