วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2551

เสือโคร่งพันธุ์เบงกอล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera tigris tigris การแพร่กระจาย อินเดีย,เนปาล, บังคลาเทศ, พม่า เมื่อ 60 ปีก่อนมีมากถึง 40,000 ตัว แต่ข้อมูลการสำรวจ ของ IUCN เมื่อเดือนมีนาคม 2537 พบว่ามีประชากรเสือโคร่งเบงกอลลดลงเหลือประมาณ 3,350-4,700 ตัว ลักษณะทั่วไป เป็นเสือโคร่งพันธุ์ใหญ่ ลำตัวมีสีเหลืองปนเทา หรือเหลืองปนน้ำตาล แต่ละตัวมีลายแถบปรากฏบนหลัง และด้านข้างลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คาง และคอเป็นสีขาว ขนเหนือตาสีขาว และมีแถบสีดำ หางมีแถบสีดำเป็นบั้งๆ ตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ปลายหางมีสีดำ หลังหูดำ และมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด นิเวศน์วิทยาและพฤติกรรม ชอบอาศัยใกล้แหล่งน้ำ หรือที่มีร่มเงาให้หลบแสงแดด เพราะมันไม่ชอบอากาศร้อน มักอาศัยในป่าลึกอากาศเย็น ว่ายน้ำ และขึ้นต้นไม้ได้แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้จะชอบว่ายน้ำมากกว่า ในวันที่อากาศร้อนๆ จะแช่อยู่ในน้ำได้หลายชั่วโมง เสือโคร่งชอบออกล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเย็น เรื่อยไป แต่ตอนกลางวันชอบนอนพักผ่อน การสืบพันธุ์ ปกติไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัดนานประมาณ 3-6 วัน ผสมพันธุ์ ได้เมื่ออายุประมาณ 30-36 เดือน (2 ปีครึ่ง - 3 ปี) ขึ้นไป ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ปกติตั้งท้องนานประมาณ 95-105 วัน ตกลูกครั้งละ 2-5 ตัว จากนั้นแม่เสือจะเลี้ยง ลูกเสือจนโตเป็นหนุ่มสาว จนอายุประมาณ 2 ปี ก็จะแยกย้ายกันไป อาหาร เสือโคร่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กินสัตว์ทุกชนิดที่จับได้ แต่หมูป่ากับกวางเป็นสัตว์ที่ชอบกินมาก อายุขัย ประมาณ 15-20 ปี ที่มา.......http://www.tigerzoo.com/Tigerthai/edu.html

ไม่มีความคิดเห็น: